การเหนียต คำกล่าวเนียตถือศีลอด พร้อมคำอ่านภาษาไทย
การถือศีลอด คือ การอดอาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้าในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ ถูกกำหนดบังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติ ใน เดือน ซะอบาน (เดือนที่ 8) หลังจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) อพยพจาก มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่า ทุกวันนี้ การถือศีลอดเป็นการทดลอง และฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการ ขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจ ใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม
การเหนียต คำเนียตถือศีลอด
การถือศีลอดให้เนียตในเวลากลางคืน ก่อนแสงอรุณขึ้นอ่านว่า นะวัยตุเชาม่าฎ่อดิน อันอ่าดาอิ ฟัรดิ ร่อมาดอนน่า ฮาซิฮิสส่าน่ะติ ลิ้ลลาฮิต่าอาลา
ดุอาในการแก้หรือละศีลอด ควรอ่านดุอาต้นนี้ก่อนจะแก้ศีลอด
อ่านว่า อัลลอฮุมม่าล่าก่าสุมตุ วาบี้ก้าอามันตุ ว่าล่าก่าอัซลัมตุ ว่าอ่าลาริษกี้ก้าอัฟฎ้อรตุ ยาวาซิอัลเม้าฆ ฟิร่อตี้ บี้รอฮม่าตี้ก้า ยาอัรห่ามัรรอฮี่มีน
ขั้นตอนปฎิบัติการถือศีลอด
1. ต้องตั้งเจตนา (เนียต) ในการถือศีลอดทุกๆคืนระหว่างดวงอาทิตย์ตกจนถึงแสงอรุณขึ้น โดยอ่านและเนียต ดังนี้
“นาวัยตูเซามาฆ่อดิน อันอาด้าอี ฟัรดีชะฮฺรีรอมาฎอน ฮาซี่ฮิซซานาตี ลิ้ลลาฮีตาอ้าลา”
เนียตว่า “ข้าพเจ้าถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎูเดือนรอมาฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะฮฺตะอาลา”
2. ต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำให้เสียศีลอด
ข้อห้ามขณะ ถือศีลอด
1. ห้ามรับประทานหรือดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วยโดยเจตนา
2. ห้ามร่มประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา
3. ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา
4. ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนา
ข้อห้ามเหล่านี้ ห้ามเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนน้ำลายในปากกลืนได้ไม่ห้าม
การถือศีลอดกับประโยชน์ทางการแพทย์
ผลลัพธ์การถือศิลอดในทางสรีรศาสตร์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล และลดความดันโลหิตสูงสุดที่เกิดขึ้นหลังระยะการบีบตัวของห้องหัวใจ การถือศิลอดช่วงเดือนรอมาฏอนเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการแสดงออกถึงความ ถ่อมตนตามแนวทางสายกลาง สงบจิตสงบใจ โรคเบาหวานมี่ไม่ต้องใช้อินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ลดน้ำหนักมที่ากเกินไปและคลดวามดันโลหิตสูง ในปี ค.ศ1994 การประชุมนานาชาติ ในหัวข้อ “สุขภาพกับเดือนรอมาฏอน” ณ รัฐกาซาบลังกา (รัฐหนึ่งของโมรอกโค) มีการนำผลการวิจัยอย่างละเอียดจำนวน 50 เล่ม จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีนักวิจัยทั้งมุสลิมและมิใช่มุสลิมไม่ใช่มุสลิมนำเสนอผลการศึกษา จริยธรรมการรักษาทางการแพทย์ด้วยการถือศิลอด ขณะที่มีการบันทึกความเจริญก้าวหน้าด้านสุขภาพทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามเป็นไปไม่ได้เลยที่การถือศิลอดจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในการ รักษาทางการแพทย์ต่อผู้ป่วย อีกประการหนึ่ง ผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคร้ายแรงต่างๆไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ที่หัวใจอุตตัน นิ่วในไต เป็นต้น โรคดังกล่าวเป็นโรคที่ได้รับการยกเว้น จากการถือศิลอดและควรหลีกเลี่ยงการถือศิลอด
โดยทั่วไปแล้วการอดอาหารมีส่วนกี่ยวข้องกับวงการแพทย์ในการรักษาโรคและการ ควบคุมอาหาร การหยุดพักการทำงานของระบบย่อยอาหารชั่วคราว และการลดระดับลิพิด(ผู้แปล-ไขมันซึ่งเป็นสสารที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้) การอดอาหารส่งผลเสียหลายประการด้วยกัน เรียกว่า การลดความอ้วนสู่หายนะ อย่างไรก็ตามการอดอาหารแบบอิสลามมีความแตกต่างกับการอดอาหารเพื่อสรีระร่าง กาย เพราะการถือศีลอดในช่วงเดือนรอมาฏอน(ผ้แปล-เป็นเดือนหนึ่งตามแบบอิสลาม จำนวนของเดือนอิสลามจะต่างกับเดือนสากล กล่าวคือเดือนอิสลามมี 29vหรือ30 วัน แต่เดือนสากลมี 28 หรือ 29 หรือ30 วัน) มิได้เข้าข่ายที่จะเกี่ยวข้องกับภาวะขาดสารอาหาร หรือ การบริโภคพลังงานความร้อนอย่างไม่เพียงพอ ปัจจัยในการบริโภคพลังงานของมุสลิมในช่วงเดือนรอมาฏอน ขึ้นอยู่กับกับความต้องการของประชาชนในการบรโภค กล่าวอีกในหนึ่งได้ว่า การถือศิลอดเป็นการกระทำโดยสมัครใจ มิได้มีผลเสียในทางวงการแพทย์แต่อย่างใด
เดือนรอมาฏอนเนเดือนที่มีกฏข้อบังคับและฝึกฝนตัวเองในตัวและหวังว่าการฝึกฝน ดังกล่าวจะดำเนินเรื่อยไปจนกระทั่งสิ้นสุดสุดท้ายของเดือนรอมาฏอน หากบทเรียนที่ได้รับในช่วงเดือนรอมาฏอน ไม่ว่าจะบริโภคอาหารเพื่อลดความอ้วนหรือเพื่อความดี ยังดำเนินต่อไปแม้ว่าเดือนรอมาฏอนจะหมดแล้วก็ตามที ดังกล่าว ถือเป็นการดีสำหรับรูปแบบการดำเนินชั่วชีวิตของเขา ยิ่งไปกว่านั้นการบริโภคอาหารต่างในช่วงเดือนรอมาฏอนมิได้มีกฏเกณฑ์ในการ เลือกรับประทานอาหารแต่ประการใดว่าจะต้องเป็นอาหารประเภทโปรตีนหรือผลไม้ เพื่อลดความอ้วน แต่ควรบริโภคอาหารทุกประเภทที่เป็นที่อนุญาตตามปริมาณที่เหมาะสม
ข้อมูลดีๆจาก ลิงค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น