บรรจง บินกาซัน
จำได้แม่นว่าขณะเป็นนักศึกษาปีหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างปิดภาคเรียน ในเดือนเมษายน พ.ศ.2514 ผมมีโอกาสร่วมเดินทางไปทำงานค่ายอาสาพัฒนาของสมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิมเป็นครั้งแรกที่หมู่บ้านเจ๊ะเด็ง ต.โละจูด อ.แว้ง จ.นราธิวาส ค่ายของสมาคมฯมีงานก่อสร้างถาวรวัตถุหลายโครงการ หนึ่งในนั้นคือการสร้างห้องส้วมสาธารณะสามห้องให้หมู่บ้าน
ปีต่อมา เมื่อกลับไปสำรวจผลงานค่ายที่ทำไว้ เราพบว่าห้องส้วมที่สร้างไว้ยังคงใหม่เหมือนเดิม ไม่มีสิ่งบ่งบอกให้เห็นถึงการใช้งาน ผมจึงนึกถึงคำบรรยายสรุปของผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสในเวลานั้นก่อนเข้าไปปฏิบัติงานในหมู่บ้าน ท่านบอกว่าผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช้ส้วมเพราะถือว่าการขี้ทับกันเป็นบาป
ความเชื่อเช่นนี้เป็นความเชื่อของศาสนาฮินดูที่แผ่ขยายอิทธิพลฝังแน่นอยู่ในดินแดนอุษาคเนย์มาเป็นเวลานานหลายร้อยปีก่อนที่ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และอิสลามจะมาถึง
แม้ชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะหันมารับนับถืออิสลามหลายร้อยปีแล้ว แต่อิทธิพลความเชื่อของศาสนาฮินดูที่ฝังรากแน่นมานานยังคงตกค้างให้เห็นทั้งๆที่พฤติกรรมทางความเชื่อเช่นนี้ไม่มีอยู่ในคำสอนของอิสลาม หรือแม้แต่ในศาสนาพุทธและคริสต์
ในอินโดนีเซียทุกวันนี้ยังมีภาพคนนั่งถ่ายอุจจาระลงคลองให้เห็นเหมือนกับชาวอินเดียที่นั่งอุจจาระข้างถนนโดยหันหน้าเข้าหาผู้คนที่เดินผ่านไปมาอย่างไม่เคอะเขิน
ตอนไปทำงานค่ายอาสาพัฒนา เราคิดว่าถาวรวัตถุจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนได้ แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด การจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนต้องเปลี่ยนที่ความเชื่อซึ่งต้องใช้การศึกษาและเวลาควบคู่กัน ตอนนี้ ผมคิดว่าสภาพดังกล่าวคงหมดไปจากท้องที่ชายแดนภาคใต้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ยังมีพิธีกรรมทางความเชื่ออีกหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่ตกทอดมาสู่สังคมไทยทั้งชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม เช่น การทำบุญส่งวิญญาณคนตาย การทำบุญสามวัน เจ็ดวัน สี่สิบวันเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ พิธีกรรมเหล่านี้เป็นที่ปฏิบัติกันมาในสังคมที่ผู้คนนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
พิธีกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคนในอดีตมีความเชื่อในเรื่องการมีอยู่ของวิญญาณ แต่เพราะความไม่รู้และความไม่เข้าใจเรื่องวิญญาณและโลกหลังความตาย ชาวฮินดูในอดีตจึงเชื่อว่าวิญญาณของคนตายยังคงเวียนว่ายอยู่ในโลกนี้และจะกลับมายังครอบครัวในวันนั้นวันนี้ จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ แต่เนื่องจากชาวบ้านทั่วไปที่มีความเชื่อในเรื่องนี้ไม่มีความรู้ จึงต้องอาศัยคนที่ได้รับการนับถือว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณมาทำให้
ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้น พุทธศาสนาและอิสลามมาหลังศาสนาฮินดู ชาวพุทธบางคนที่ไม่มีความรู้พอจึงคล้อยตามและปฏิบัติตามความเชื่อของชาวฮินดู แต่อิสลามมาถึงอุษาคเนย์หลังสุดและหลักคำสอนของอิสลามประกาศชัดเจนว่าพระเจ้ามีเพียงองค์เดียวที่มนุษย์ทุกคนสามารถวิงวอนต่อพระองค์ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่าน “สื่อกลาง” ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าไม่ว่าสื่อกลางนั้นจะเป็นมนุษย์ด้วยกันหรือวัตถุบูชา
แม้สภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะแก่งมากมายหลายพันเกาะทำให้การเผยแผ่คำสอนอิสลามไปไม่ทั่วถึง แต่ถึงกระนั้น มุสลิมในอุษาคเนย์ส่วนใหญ่ก็เลิกกราบไหว้บูชาหรือวิงวอนต่อรูปเคารพและหันมาใช้ภาษาอาหรับจากคัมภีร์กุรอานในการทำพิธีที่เรียกกันว่า “ทำบุญคนตาย” แทนภาษาที่นักบวชฮินดูใช้สวดกัน
ประเพณีทำบุญคนตายสามวันเจ็ดวันแม้นบีมุฮัมมัดไม่เคยทำไว้ แต่ประเพณีนี้มีส่วนในการรวมตัวและสร้างความเหนียวแน่นให้แก่สังคมที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ห่างกัน มีส่วนในการปลูกฝังความศรัทธาในพระเจ้าให้เกิดขึ้นในแก่มุสลิมจากการกล่าวคำระลึกถึงและสรรเสริญอัลลอฮฺซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ที่แน่ๆก็คือ ประเพณีดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสังคมมุสลิมเลิกกราบไหว้และวิงวอนต่อเทพเจ้าต่างๆที่บรรพบุรุษของตัวเองเคยทำกันและหันมาวิงวอนต่ออัลลอฮฺพระเจ้าองค์เดียวซึ่งถือว่าเป็นหลักศรัทธาสำคัญของอิสลาม
ที่มา : facebook ของอาจารย์บรรจง บินกาซัน มูลนิธิสันติชน
https://www.facebook.com/Banjong.Binkason
| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
[ Translate by Google Translate ]
The influence of beliefs on culture
Banjong Bingasan
I clearly remember when I was a first year student at Thammasat University. during term break In April 1971, I had the opportunity to travel to work for the first time at the Thai Muslim Student Association's Development Volunteer Camp at Che Deng Village, Lo Jud Subdistrict, Waeng District, Narathiwat Province. project One of them was to build three public toilets for the village.
A year later, when returning to explore the work that the camp had done We found that the toilets that were built were still new. There is no indication of use. So I thought of the briefing of the Narathiwat governor at that time before going to work in the village. He said that people in the southern border provinces do not use the toilet because it is considered a sin to overlap each other.
This belief is a belief in Hinduism that spread its influence in Southeast Asia for hundreds of years before Buddhism. Christianity and Islam will come.
Even Malay Thais in the southern border provinces have converted to Islam for hundreds of years. But the long-established influence of Hindu beliefs still remains, despite the fact that such behavior is not present in Islamic teachings. or even in Buddhism and Christianity
In Indonesia today, there are still images of people defecating into canals, similar to Indians defecating on the side of the road, facing awkward passers-by.
When I went to work at the Volunteer Development Camp We think that Thawornwathu can change people's behavior. But that's the wrong idea. In order to change people's behavior, one has to change one's beliefs, which requires study and time at the same time. Now, I think that such conditions must have disappeared from the southern border areas.
However, there are still many belief rituals that show the influence of Brahmin-Hindu beliefs that have been passed down to Thai society, both Thai Buddhists and Thai Muslims, such as making merit to send the souls of the dead. Making merit for three days, seven days, and forty days to dedicate merit to the deceased. These rituals are practiced in Brahmin-Hindu societies.
The ritual shows that people in the past believed in the existence of spirits. but because of ignorance and understanding of the spirit and the afterlife Hindus in the past believed that the souls of the dead still roamed the world and would return to their families on that day. therefore making merit and dedicating the charity But because the general people who believe in this matter do not have knowledge Therefore, it must rely on people who are regarded as spiritual leaders to make it.
as mentioned at the beginning Buddhism and Islam came after Hinduism. Some ignorant Buddhists conform to and follow Hindu beliefs. But Islam came to Southeast Asia last, and its teachings make it clear that there is only one God that every human being can directly intercede with Him, without any “mediation” between man and God. Will it be a human being or an object of worship?
Although the terrain is many thousands of islands make it impossible to spread Islamic teachings. but still Most Muslims in Southeast Asia have stopped worshiping or invoking idols and have adopted the Arabic language from the Quran in what is known as "Blessing the Dead" instead of the language used by Hindu clerics.
The tradition of making merit for the dead for three days and seven days, although Muhammad never made it But this tradition has contributed to the integration and cohesiveness of a society that lives apart. Contribute to the instilling of faith in the Muslims by repeatedly commemorating and praising Allah. But what is certain is This tradition clearly shows that the Muslim society has stopped worshiping and invoking the gods that their ancestors used to practice and in favor of Allah alone, which is considered the cornerstone of Islamic faith.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น