หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

จุดยืนของอิสลามเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายไต



บรรจง บินกาซัน

ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์  การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งเป็นเรื่องปรกติธรรมดาทางการแพทย์ไปแล้ว  จึงมีคนสงสัยและถามว่าอิสลามมีจุดยืนในเรื่องนี้อย่างไร

ในอิสลาม  ชีวิตเป็นของพระเจ้า  มนุษย์มีหน้าที่ต้องรักษาชีวิตทั้งคนและสัตว์อย่างสุดความสามารถ  ถ้าหากปฏิบัตตามเงื่อนไขต่อไปนี้ได้ กฎหมายอิสลามก็อนุญาตให้ทำได้ นั่นคือ

1.การเปลี่ยนถ่ายไตไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ถูกนำไตนั้นมา

ผู้ให้ไตจะต้องทำไปโดยความสมัครใจของตัวเอง นั่นคือ จะต้องไม่ถูกบังคับหรือถูกกดดัน

2.การเปลี่ยนถ่ายไตดังกล่าวเป็นหนทางสุดท้ายแล้วสำหรับการรักษาผู้ป่วย

3.ความสำเร็จในการผ่าตัดจะต้องมีความเป็นไปได้สูงหรือแน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จจากทัศนะทางด้านศัลยกรรม

4.จะต้องไม่มีการแลกเปลี่ยนหรือตอบแทนกันทางด้านวัตถุใดๆทั้งสิ้น

5.ถ้าหากว่าจะมีการนำอวัยวะจากผู้ตายมาเปลี่ยนถ่าย ผู้ตายจะต้องให้การยินยอมและจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขห้าประการดังกล่าวโดยครบถ้วนก่อนจะเสียชีวิตหรือได้รับการยินยอมจากทายาทหรือผู้ปกครองมุสลิมในกรณีที่ไม่รู้ว่าผู้ตายเป็นใคร

นักวิชาการและองค์กรอิสลามมากมายได้วินิจฉัยไปแล้วว่าการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะเช่นนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายอิสลามซึ่งในจำนวนนี้ก็ได้แก่การประชุมอิสลามระหว่างประเทศในมาเลเซียเมื่อปี ค.ศ.1969 และสภานิติศาสตร์อิสลามในการประชุมครั้งที่ 8 ในมักก๊ะฮฺ 

หลักฐานสำหรับความถูกต้องตามกฎหมายอิสลามในเรื่องการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะก็คือข้อความจากกุรอาน 2 : 173 ที่กล่าวว่า : “…แต่ถ้าผู้ใดตกอยู่ในภาวะจำเป็นอย่างยิ่งโดยไม่มีเจตนาจะฝ่าฝืนหรือละเมิดขอบเขต นั่นก็ไม่เป็นบาปสำหรับเขา   แน่นอน อัลลอฮฺเป็นผู้ทรงให้อภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ”

ดังนั้น อัลลอฮฺได้แยกสถานการณ์ที่มีความจำเป็นออกจากสิ่งต้องห้ามแล้ว จึงไม่ต้องสงสัยว่าผู้ป่วยที่ต้องการอวัยวะนั้นตกอยู่ในภาวะจำเป็นเพราะชีวิตของเขากำลังได้รับอันตรายจากการล้มเหลวของไต หรือตับหรือหัวใจ  นอกจากนี้แล้ว อัลลอฮฺก็ทรงกล่าวว่า : “..และถ้าผู้ใดได้ไว้ชีวิตหนึ่ง มันก็เหมือนกับว่าเขาได้ไว้ชีวิตของมนุษย์ทั้งโลก” (กุรอาน 5:32)

นี่คือกฎทั่วไปซึ่งรวมถึงการช่วยใครคนหนึ่งคนใดให้พ้นจากความตายหรือการบริจาคอวัยวะให้แก่คนที่ต้องการ เช่น  การบริจาคดวงตาให้แก่คนตาบอดเพื่อให้คนผู้นั้นได้มองเห็น หลักฐานพิสูจน์ความถูกต้องในทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมากมาย




ที่มา : facebook ของอาจารย์บรรจง บินกาซัน มูลนิธิสันติชน
https://www.facebook.com/Banjong.Binkason



| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


[ Translate by Google Translate ]


Islamic position on kidney transplant

Banjong Bin Kasan

With the advancement of medical technology, organ transplantation from one person to another has become a common medical practice. Therefore, some people wonder and ask what Islam's position is on this issue.
In Islam, life belongs to God. Humans have a duty to preserve the lives of both humans and animals to the best of their ability. If the following conditions are met, Islamic law allows it:
1. Kidney transplantation does not harm the person from whom the kidney is taken.
The donor must do it voluntarily, meaning they must not be forced or pressured.
2. Such a kidney transplant is the last resort for treating a patient.
3. The success of the surgery must be highly possible or certain to be successful from a surgical perspective.
4. There must be no material exchange or reward.
5. If organs are to be transplanted from a deceased person, the deceased must give consent and must comply with the five conditions mentioned above before death or must receive consent from the heir or Muslim guardian in cases where the deceased's identity is unknown.
Many Islamic scholars and organizations have ruled that such organ transplants are in accordance with Islamic law, among them the International Islamic Conference in Malaysia in 1969 and the 8th Islamic Jurisprudence Council in Makkah.
The evidence for the Islamic legality of organ transplants is the verse from the Qur’an 2:173 which says: “… But if someone is in dire need and does not intend to violate or overstep the bounds, there is no sin on him. Indeed, Allah is Forgiving, Merciful.”
So Allah has separated the situation of necessity from the forbidden. There is no doubt that the patient who needs an organ is in dire need because his life is in danger due to failure of the kidney, liver or heart. Furthermore, Allah says: “… And whoever saves a life, it is as if he has saved the life of the whole world.” (Quran 5:32)
This is a general rule which includes saving a person from death or donating an organ to someone in need, such as donating an eye to a blind person to restore his sight. There is a lot of evidence to prove the legal validity of this matter.


Source: facebook of Mr.Banjong Binkason  Santichon Islamic Foundation
https://www.facebook.com/Banjong.Binkason

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น