หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ภาษีศาสนา


บรรจง บินกาซัน 

อิสลามกำหนดการปฏิบัติศาสนกิจขั้นพื้นฐาน 5 ประการให้มุสลิมปฏิบัติเพื่อเป็นการแสดงความศรัทธาในพระเจ้า  การสักการะและแสดงความกตัญญูต่อพระองค์ผู้ทรงสร้างทุกมนุษย์และประทานปัจจัยยังชีพแก่ทุกชีวิต

ในคัมภีร์กุรอาน  เราพบว่าพระเจ้าได้บอกอับราฮัมให้รู้ถึงวิธีการนมาซและการทำฮัญ์  และเราพบร่องรอยหลักฐานยืนยันเรื่องนี้แม้แต่ในคัมภีร์ไบเบิลว่าอับราฮัมแสดงความเคารพสักการะพระเจ้าด้วยการก้มกราบ 

ส่วนเรื่องการจ่ายซะกาตหรืออาจเรียกว่าภาษีทางศาสนานั้นมีขึ้นในสมัยในสมัยของอิสมาอีล บุตรคนแรกจากภรรยาคนที่สองของอับราฮัม  คัมภีร์กุรอานพูดถึงเรื่องนี้ว่า “และได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ถึงเรื่องราวของอิสมาอีล เขาเป็นผู้ซื่อตรงต่อสัญญา เป็นผู้นำสาส์นจากพระเจ้า เป็นนบีคนหนึ่ง เขาสั่งคนของเขาให้ดำรงนมาซและจ่ายซะกาต”  (กุรอาน 19:54-55)

ลูกหลานของอับราฮัมจากภรรยาคนแรกก็ได้รับคำสั่งเรื่องการจ่ายซะกาตเช่นกัน  เราพบหลักฐานในคัมภีร์กุรอานว่าลูกหลานอิสราเอลถูกบัญชาให้นมาซและจ่ายซะกาต (กุรอาน 98:5)  ลูกหลานอิสราเอลคือบุตร 12 คนของยาโกบลูกชายของอิชอักผู้เป็นลูกคนที่สองของอับราฮัมจากนางซาราห์ภรรยาคนแรก

แต่เนื่องจากคัมภีร์ไบเบิลมิได้ใช้ภาษาอาหรับ จึงเรียกซะกาตตามอัตราการจ่ายว่า “ทศางค์” ซึ่งหมายถึงหนึ่งในสิบตามหลักฐานดังต่อไปนี้ :

 “ทศางค์(หนึ่งในสิบ)ทั้งสิ้นที่ได้จากแผ่นดิน  เป็นพืชที่ได้จากแผ่นดินก็ดี หรือผลจากต้นไม้ก็ดีเป็นของพระเจ้า” (เลวีนิติ 27:30)

 “ผลได้เป็นปีๆจากพืชพันธุ์ในนาของท่านนั้น  ท่านจงถวายทศางค์”  (เฉลยธรรมบัญญัติ 14:22) 

 “เราให้ทศางค์ในอิสราเอลแก่คนเลวีเป็นมรดก เป็นค่าตอบแทนงานที่เขาปฏิบัติ คืองานปฏิบัติที่เต๊นท์นัดพบ” (กันดารวิถี 18:21)  

คัมภีร์กุรอานกล่าวอีกว่าเยซัสหรือนบีอีซาก็กำชับพวกลูกหลานอิสราเอลในสมัยของท่านให้นมาซและจ่ายซะกาต  นั่นแสดงว่าการจ่ายทศางค์ยังคงปฏิบัติกันเรื่อยมา  แต่ส่วนในฝั่งของลูกหลานอิสมาอีลผู้เป็นต้นตระกูลชาวอาหรับนั้น  การนมาซและการจ่ายซะกาตได้ถูกลืมเลือนจนหายไปในที่สุด

เป็นเรื่องน่าสนใจว่าพวกลูกหลานอิสราเอลได้บริหารการจัดเก็บและการจัดสรรทศางค์อย่างมีแบบแผนซึ่งเราสามารถพบได้ในคัมภีร์ไบเบิลดังนี้

 - จ่าย 1/10 ของผลิตผลเกษตรและปศุสัตว์ (เลวิติโก 27:30-32)  

 - อายุยี่สิบขึ้นไปไม่ว่ารวยหรือจนต้องจ่ายครึ่งเชเคลทุกสามปี (อพยพ 30:13-15)

 - ผู้จัดเก็บคือกองคลังของวิหารแห่งเยรูซาเล็ม

 - ครึ่งหนึ่งของทศางค์ที่เก็บได้จะถูกจัดสรรให้เจ้าหน้าที่ทางศาสนา

 - 1/10 จากที่เหลือถูกนำไปให้พวกเลวี (ลูกหลานของนบีฮารูน)  

 - 1/10 สำหรับดูแลคนที่ไปแสวงบุญที่เยรูซาเล็ม

 - ส่วนที่เหลือนำไปใช้ดูแลแม่ม่าย เด็กกำพร้า คนยากจน

ไม่เป็นเรื่องน่าแปลกอะไรที่เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม  มนุษย์ทุกคนในฐานะสมาชิของสังคมจำเป็นต้องมีส่วนรับผิดชอบในการพัฒนาและบำรุงรักษาท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่  หากปราศจากสิ่งนี้  การพัฒนาสังคมก็ไม่อาจเป็นไปได้  แต่แนวความคิดและการปฏิบัติดังกล่าวมิได้มาจากมนุษย์ แต่มาจากพระเจ้า  การปฏิบัติตามคำสั่งจากพระเจ้าจึงเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาและการถวายสักการะพระเจ้าไปพร้อมกัน





ที่มา : facebook ของอาจารย์บรรจง บินกาซัน มูลนิธิสันติชน
https://www.facebook.com/Banjong.Binkason



| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |


[ Translate by Google Translate ]


Religious tax

Banjong Binkasan

Islam prescribes five basic religious acts for Muslims to perform as an expression of faith in God. Paying homage and expressing gratitude to the One who created all human beings and provides sustenance to all life.
in the quran We find that God told Abraham how to pray and perform the Hajj. And we find evidence of this even in the Bible, where Abraham worshiped God by bowing down.
As for the payment of zakat, or what might be called religious taxes, it existed during the time of Ismail. The first child of Abraham's second wife. The Quran says about this: “And it is mentioned in the Scripture about the story of Ismail. He is faithful to his promises. Carrying a message from God He is a prophet. He commands his people to observe prayers and pay Zakat” (Quran 19:54-55).
Abraham's descendants from his first wife were also instructed on the payment of zakat. We find evidence in the Quran that the Children of Israel were commanded to pray and pay Zakat (Quran 98:5). The Children of Israel were the 12 sons of Jacob the son of Ishaq who were Abraham's second wife from Sarah his first wife
But since the Bible is not in Arabic, Therefore, Zakat is called according to the rate of payment as "tithan" which means one-tenth according to the following evidence:
  “All the tithe (one-tenth) obtained from the land It's a good plant that comes from the land. or the fruit of the tree, it is the LORD's” (Leviticus 27:30).
  “Years of fruit from the plants in your fields You shall give your tithe” (Deuteronomy 14:22).
  “I have given the tithes in Israel to the Levites as an inheritance. It is compensation for the work he performs. It is the ministry at the tent of meeting” (Numbers 18:21).
The Quran also states that Jesus or Prophet Isa commanded the Children of Israel in his day to pray and pay zakah. This shows that the practice of paying tithes has continued ever since. But on the side of the descendants of Ismail, who were the progenitors of the Arab family, Prayer and paying Zakat were forgotten and eventually disappeared.
It is interesting to note that the Children of Israel organized the collection and allocation of tithes in such a systematic manner as we can find them in the Bible.
  - Paid 1/10 of agricultural produce and livestock (Leviticus 27:30-32)
  - Ages twenty and over, whether rich or poor, were required to pay half a shekel every three years (Exodus 30:13-15).
  - The treasury was the treasury of the Temple of Jerusalem.
  - Half of the tithe collected will be allocated to religious officials.
  - 1/10 of the remainder was given to the Levites. (Descendants of Prophet Harun)
  - 1/10 for caring for people going on pilgrimage to Jerusalem
  - The rest is used to care for widows, orphans, and the poor.
It is not surprising that when humans live together as a society, Every human being, as a member of society, must take responsibility for the development and maintenance of the locality in which he or she lives. Without this Social development is not possible. But such ideas and practices do not originate with humans. but from God Following God's commands is an expression of faith and worship at the same time.


Source: facebook of Mr.Banjong Binkason  Santichon Islamic Foundation
https://www.facebook.com/Banjong.Binkason

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น