บรรจง บินกาซัน
คำสอนของทุกศาสดามีความเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือ การให้หรือการบริจาคทาน คำสอนเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ทางด้านจิตวิญญาณและสังคม นั่นคือเพื่อขัดเกลาวิญญาณให้สะอาดหมดจดจากมลทินแห่งความตระหนี่ถี่เหนียว ขณะเดียวกัน ทานที่ให้ไปจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนมีกับคนไม่มีและช่วยทำให้สังคมเจริญเติบโต
การบริจาคหรือการให้ทานจึงเป็นเสมือนเมตตาธรรมที่ค้ำจุนโลก
แต่เนื่องจากการให้ทานหรือการบริจาคไม่เป็นข้อบังคับ เป็นการทำตามความสมัครใจ จึงมีบางคนไม่บริจาค หรือคนมีมาก แต่บริจาคน้อย ความไม่เป็นธรรมในเรื่องนี้จึงเกิดขึ้น ศาสนาจึงกำหนดให้ศาสนิกของตนจ่ายสิ่งที่เรียกว่า “ภาษีศาสนา” ก่อนที่รัฐบาลจะมีการออกกฎหมายเก็บภาษี
ในคัมภีร์ไบเบิล เราพบระบบการจัดเก็บและการบริหารภาษีศาสนาที่เรียกว่า “ทศางค์” ซึ่งชาวยิวและชาวคริสเตียนถือปฏิบัติกันมาในฐานะเป็นการแสดงความเคารพสักการะพระเจ้า
ในคัมภีร์กุรอาน เราพบว่าการจ่ายภาษีศาสนาที่เรียกว่า “ซะกาต” มีมานานแล้วตั้งแต่เมื่อครั้งที่อิสมาอีลลูกชายคนแรกอับราฮัมยังมีชีวิต ข้อความในคัมภีร์กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า :
“และได้มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ถึงเรื่องราวของอิสมาอีล เขาเป็นผู้ซื่อตรงต่อสัญญา เป็นผู้นำสาส์นจากพระเจ้า เป็นนบีคนหนึ่ง เขาสั่งคนของเขาให้ดำรงละหมาดและจ่ายซะกาต” (กุรอาน 19:54-55)
การจ่ายซะกาตของอิสมาอีลเป็นอย่างไรไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเพราะหลังสมัยของอิสมาอีลผู้เป็นบรรพบุรุษของชาวอาหรับ ชาวอาหรับได้หลงลืมเรื่องการจ่ายซะกาตและการละหมาดกันหมดแล้ว
อย่างไรก็ตาม ชาวอาหรับยังคงมีการแสดงความโอบอ้อมอารีด้วยการเลี้ยงอาหารแก่ผู้พลัดถิ่น ให้เงินช่วยเหลือคนยากจน หรือเชือดสัตว์พลีในช่วงเทศกาลฮัจญ์เพื่อให้คนนำเนื้อไปบริโภค แต่ทั้งหมดล้วนทำไปด้วยความสมัครใจ ไม่มีกฎเกณฑ์กติกาใดๆ
เมื่อนบีมุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่อิสลามในมักก๊ะฮฺ ท่านได้เน้นให้สาวกของท่านบริจาคทานช่วยเหลือคนยากจน แม่ม่าย เด็กกำพร้าและปลดปล่อยทาส การบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ล้วนทำไปด้วยความสมัครใจและจิตศรัทธาของผู้มีทรัพย์สินเช่นกัน
แต่เมื่อนบีมุฮัมมัดและสาวกต้องอพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺโดยต้องทิ้งทรัพย์สินไว้ที่มักก๊ะฮฺ สาวกผู้อพยพมาจึงอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัวเหมือนกันหมดทุกคน แม้นบีมุฮัมมัดจะขอให้มุสลิมในเมืองมะดีนะฮฺรับผู้อพยพไปอุปการะ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้หมด
จนกระทั่งในปีที่สองของการอพยพ เมื่อพระเจ้าได้สั่งให้มุสลิมถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน นบีมุฮัมมัดผู้นำประชาคมมุสลิมที่ยังไม่มีรัฐบาลของตัวเองได้ออกคำสั่งให้มุสลิมทุกคนที่มีอาหารเหลือกินในวันรุ่งขึ้นต้องนำสิ่งที่เรียกว่า“ซะกาตฟิฏร์” ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่น เช่น ข้าวหรืออินทผลัมประมาณสี่มือกอบไปให้คนยากจนก่อนสิ้นสุดเดือนเราะมะฎอน ระบบซะกาตจึงเริ่มต้นตั้งแต่นั้น
ซะกาตฟิฏร์จึงไม่ใช่การบริจาคที่ทำด้วยความสมัครใจ แต่มันเป็นหน้าที่ของผู้พอมีจะกินต้องจ่ายให้แก่คนจนผู้มีสิทธิ์ ดังนั้น คนจนจึงเป็นเสมือนแท่นสักการะพระเจ้าในการถวายทรัพย์สินแก่พระองค์
หลังจากกำหนดเรื่องซะกาตฟิฏร์ ประชาคมมุสลิมต้องทำสงครามต่อต้านผู้รุกรานจากมักก๊ะฮฺ หลังสงคราม มุสลิมได้รับทรัพย์สินที่ตกอยู่ในสนามรบเป็นจำนวนมากมาย ก่อนสมัยอิสลาม ทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นของคนที่เก็บได้ แต่มาถึงตอนนี้ พระเจ้าได้สั่งลงมาเป็นกฎว่าทรัพย์ที่ได้จากสนามรบทั้งหมดต้องนำมาให้นบีมุฮัมมัดและทรัพย์สินเหล่านี้หนึ่งในห้าพระเจ้าจัดสรรให้นบีนำไปเลี้ยงดูครอบครัว แม่ม่าย เด็กกำพร้าและคนยากจน ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปจัดสรรให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในสงคราม
ในปลายสมัยของนบีมุฮัมมัด ประชาคมมุสลิมเริ่มมีความมั่งคั่ง นบีมุฮัมมัดจึงกำหนดว่าเมื่อครบรอบปีจันทรคติ หากมุสลิมคนใดมีทรัพย์สินเป็นเงินมีมูลค่าเท่ากับราคาทองคำหนัก 5.6 บาท คนผู้นั้นมีหน้าที่ต้องจ่ายซะกาตจากทองคำหรือเงิน 2.5% ให้แก่คนแปดประเภทที่คัมภีร์กุรอานกล่าวไว้ดังนี้ :
1)คนยากจน 2) คนขัดสน 3) เจ้าหน้าที่จัดการซะกาต 4) ผู้มีใจโน้มมาสู่อิสลาม 5) ผู้ไร้อิสรภาพ 6) ผู้มีหนี้สิน 7) ในหนทางของพระเจ้า 😎 ผู้พลัดถิ่น
ซะกาตจึงเป็นระบบภาษีศาสนาในอิสลามที่มุสลิมทั่วโลกยังคงปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ แม้จะจ่ายภาษีให้รัฐแล้วก็ตาม มุสลิมก็ต้องจ่ายซะกาตอีกในฐานะเป็นการแสดงความเคารพสักการะพระเจ้า
ที่มา : facebook ของอาจารย์บรรจง บินกาซัน มูลนิธิสันติชน
https://www.facebook.com/Banjong.Binkason
| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
[ Translate by Google Translate ]
Zakat Religious Tax in Islam
Banjong Binkasan
The teachings of all the masters have one thing in common, that is, giving or donating alms. This teaching has a spiritual and social purpose. That is, to purify the soul completely from the taint of stinginess. At the same time, alms given will help build good relationships between those who have and those who have not and help society grow.
Donating or giving alms is like kindness that sustains the world.
But because alms or donations are not compulsory. It is done voluntarily. So there are some people who don't donate, or people who have a lot but donate a little. Injustice in this matter has occurred. Religions therefore require their followers to pay what is called a "religious tax" before the government enacts tax laws.
in the bible We find a system of collecting and administering religious taxes called tithes, which Jews and Christians practiced as an act of reverence for God.
in the quran We find that the payment of a religious tax known as “Zakaat” has been around since the days of Abraham's first son, Ismail. The Quran passage states this:
“And it is mentioned in the Book about the story of Ismail. He is faithful to his promises. Carrying a message from God He is a prophet. He commands his people to maintain prayer and pay Zakat” (Quran 19:54-55).
There is no clear evidence for how the payment of zakat by Ismail was made after the time of Ismail, the ancestor of the Arabs. The Arabs have completely forgotten about paying Zakat and praying.
However, the Arabs continued to show their generosity by feeding the diaspora. Give aid to the poor Or sacrificing animals during the Hajj festival so that people can consume the meat. But it was all done voluntarily. There are no rules or regulations.
When Prophet Muhammad began to spread Islam in Makkah He urged his followers to give alms to help the poor, widows, orphans, and free slaves. Donations for these purposes are all done with the volition and faith of those who have assets as well.
But when the Prophet Muhammad and his disciples had to migrate to Medina and leave their possessions in Makkah. The immigrant disciples were all in the same state of destitution. Even though the Prophet Muhammad asked the Muslims in Madinah to adopt the refugees, But it cannot solve all problems.
Until the second year of immigration When God ordered Muslims to fast in the month of Ramadan. The Prophet Muhammad, the leader of the Muslim community that did not yet have its own government, ordered that all Muslims who had food leftover to eat the next day must bring so-called “Zakaat,” which is local food such as rice. Or about four palms of dates given to the poor before the end of Ramadan. The Zakat system has been started since then.
Zakat is therefore not a voluntary donation. But it is the duty of those who have means to pay to the poor who have the means. Therefore, the poor serve as an altar to God in offering their wealth to Him.
After determining the matter of zakat fitr The Muslim community had to wage a war against the invaders from Mecca. After the war, the Muslims received a large amount of property that had fallen on the battlefield. Before Islamic times These assets will belong to the person who collects them. But now God decreed that all wealth recovered from the battlefield should be brought to the Prophet Muhammad and one out of five of these wealth was allocated to the Prophet to be used to support his family, widows, orphans and the poor. The remainder will be allocated to those participating in the war.
At the end of the time of the Prophet Muhammad The Muslim community began to prosper. Prophet Muhammad therefore determined that when the lunar year was completed If a Muslim has monetary assets equal to the price of 5.6 baht in gold, he is obliged to pay 2.5% zakat on gold or silver to the eight categories of people mentioned in the Quran as follows:
1) Poor people 2) Needy people 3) Zakat officials 4) People who are inclined towards Islam 5) People without freedom 6) People in debt 7) In the path of God 😎 Displaced people
Zakat is therefore a religious tax system in Islam that is still practiced by Muslims around the world to this day. Even though taxes have been paid to the government. Muslims also have to pay zakat as a show of respect for God.
Source: facebook of Mr.Banjong Binkason Santichon Islamic Foundation
https://www.facebook.com/Banjong.Binkason
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น