หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ทำไมต้องถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน?


บรรจง บินกาซัน 

เข้าเดือนเราะมะฎอนแล้ว เดือนที่มุสลิมทั่วโลกต้องถือศีลอด ปีนี้วันแรกตรงกับวันที่ 12 มีนาคม 2567  หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเดือนนี้มุสลิมจึงต้องอดข้าวอดน้ำและอดไปเพื่ออะไร?

ไม่มีการปฏิบัติศาสนกิจใดที่ไร้ประโยชน์หรือไร้เหตุผลและเหตุผลก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความเข้าใจ

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567

รัฐมะเร็งร้ายในตะวันออกกลาง


บรรจง บินกาซัน

หลังจากที่เมืองเยรูซาเล็ม เมืองหลวงทางด้านจิตวิญญาณของชาวยิวถูกทำลายใน ต.ศ.70  ชาวยิวได้หนีไปหลบภัยอาศัยอยู่ในประเทศต่างๆของยุโรปและแม้แต่ในคาบสมุทรอาหรับ  ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศใด  ชาวยิวจะเก็บตัวอยู่อย่างสงบเสงี่ยมโดยยังรักษาขนบประเพณีและความเชื่อของตนไว้อย่างเหนียวแน่น

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567

สงครามข้ามศตวรรษ


บรรจง บินกาซัน

เมืองเฮบรอนในประเทศปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครองมีสถานที่แห่งหนึ่งชื่อ “อัลฮารอม อัลอิบราฮีมีย์”  สถานที่แห่งนี้ผู้คนเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ฝังศพของครอบครัวอับราฮัมซึ่งประกอบด้วยนางซาราห์ผู้เป็นภรรยา  อิสฮากลูกชายคนที่สองของอับราฮัมและภรรยา และหลุมฝังศพของยาโกบลูกชายของอิสฮาก

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ชื่อคนดีถูกนำมาตั้งเป็นชื่อรัฐก่อการร้าย


บรรจง บินกาซัน 

นบีมุฮัมมัดได้สั่งสาวกของท่านไว้ตอนหนึ่งว่า “จงเผยแพร่ไปจากฉันแม้จะเป็นข้อความหนึ่ง(จากคัมภีร์กุรอาน)และจงเล่าเรื่องราวของพวกลูกหลานอิสราเอลให้คนได้รู้” 

เรื่องราวของลูกหลานอิสราเอลมีกล่าวไว้มากมายทั้งในคัมภีร์ไบเบิลและคัมภีร์กุรอาน เพราะในหมู่ลูกหลานอิสราเอลมีหลายคนที่ถูกพระเจ้าคัดเลือกให้เป็นผู้ประกาศคำสอน(นบี)ของพระองค์ หนึ่งในนั้นก็คือโมเสส 

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2567

กำพืดลูกหลานอิสราเอล


บรรจง บินกาซัน 

ในคัมภีร์ไบเบิลและคัมภีร์กุรอานมีชื่อผู้ประกาศคำสอนของพระเจ้าร่วมกัน ยี่สิบกว่าคน  ทำให้หลายคนที่ศึกษาคัมภีร์ทั้งสองเล่มนี้คิดว่าคัมภีร์กุรอานคัดลอกเรื่องราวจากคัมภีร์ไบเบิลมาเพราะคัมภีร์กุรอานมาทีหลังคัมภีร์ไบเบิล

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567

จักรพรรดิเปอร์เซียฉีกสารของนบีมุฮัมมัด


บรรจง บินกาซัน 

คุสโร เปอร์เวซ จักรพรรดิแห่งมหาอาณาจักรเปอร์เซียเป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้รับจดหมายเชิญชวนสู่อิสลามจากนบีมุฮัมมัดในเวลาไล่เลี่ยกันกับจักรพรรดิเฮราคลีอุสแห่งอาณาจักรโรมันไบแซนติน  แต่ปฏิกิริยาของคุสโร เปอร์เวซแตกต่างไปจากเฮราคลีอุสโดยสิ้นเชิง

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2567

นบีมุฮัมมัดเชิญจักรพรรดิไบแซนตินสู่อิสลาม


บรรจง บินกาซัน

เมื่อนบีมุฮัมมัดเริ่มปฏิบัติภารกิจเผยแผ่อิสลามในเมืองมักก๊ะฮฺ  อาณาจักรโรมันไบแซนตินได้ประกาศรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาทางการแล้วโดยมีคัมภีร์ไบเบิลเป็นกฎหมายในการปกครอง

ส่วนอาณาจักรเปอร์เซีย มหาอำนาจคู่แข่งกับอาณาจักรไบแซนตินยังนับถือศาสนาที่บูชาไฟอยู่

ในช่วงที่แผ่นดินอาหรับเกิดความสงบจากสนธิสัญญาสันติภาพฮุดัยบียะฮฺ  นบีมุฮัมมัดได้ให้คนนำสารเชิญชวนสู่อิสลามไปยังประมุขของอาณาจักรต่างๆ  หนึ่งในนั้นคือเฮราคลีอุสจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมันไบแซนติน  ในตอนนั้น จักรพรรดิอยู่ในแคว้นชามที่เป็นหัวเมืองใหญ่มีอาณาเขตติดกับแผ่นดินอาหรับและเปอร์เซีย

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567

พิชิตอะไรไม่ยิ่งใหญ่เท่าพิชิตใจคน


บรรจง บินกาซัน  

หลังจากการบุกโจมตีเมืองยัษริบ(มะดีนะฮฺ)ครั้งใหญ่ที่สุดของชาวมักก๊ะฮฺในสงครามสหพรรคประสบความล้มเหลวและเผ่ายิวที่คิดคดทรยศมุสลิมถูกปราบปรามแล้ว นบีมุฮัมมัดก็คิดที่จะยึดมักก๊ะฮฺคืนเพื่อทำให้ก๊ะอฺบ๊ะฮฺเป็นสถานที่เคารพสักการะพระเจ้าที่แท้จริงแต่เพียงพระองค์เดียว

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567

สงครามกับเผ่าบนีอิสรอ-อีล(ยะฮูดีย์์)


บรรจง บินกาซัน 

ในเมืองยัษริบนอกจากจะมีชาวอาหรับพื้นเมืองอาศัยอยู่แล้ว ยังมีชาวบนีอิสรอ-อีลหรือยะฮูดีย์สามเผ่ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่นอกเมืองในเขตที่เรียกว่าค็อยบัรฺซึ่งอยู่ห่างจากเมืองยัษริบ(หรือมะดีนะฮฺ)ไปทางเหนือประมาณ 150 ก.ม.  ชาวยะฮูดีย์เหล่านี้อพยพมาจากเมืองเยรูซาเล็มที่ถูกกองทัพโรมันโจมตีและทำลายใน ค.ศ.70 

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สนธิสัญญาสันติภาพครั้งแรกในอิสลาม


บรรจง บินกาซัน 

ระหว่างที่อยู่ในเมืองยัษริบ  นบีมุฮัมมัดต้องทำสงครามหลายครั้ง  สงครามเหล่านี้เกิดขึ้นจากการรุกรานภายนอกและจากการสมรู้ร่วมคิดของชนเผ่าชาวยิวและกลุ่มคนตลบตะแลงภายในที่คอยคิดกำจัดท่านและทำลายอิสลาม

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ศึกนอกต้องสู้ ศึกในต้องนิ่ง


บรรจง บินกาซัน

ขณะที่นบีมุฮัมมัดปฏิบัติภารกิจเผยแผ่อิสลามในเมืองมักก๊ะฮฺ  ผู้ต่อต้านท่านมีอยู่แค่ในเมือง  แต่เมื่ออพยพไปยังยัษริบ  ท่านกลับมีทั้งศัตรูผู้รุกรานจากภายนอกและศัตรูภายใน

สงครามอุฮุดที่มุสลิมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ผู้รุกรานจากมักก๊ะฮฺและนบีมุฮัมมัดได้รับความบอบช้ำเกิดจากสาเหตุสองประการ  ประการแรกคือพลธนูละทิ้งหน้าที่ป้องกันทหารม้าที่จะเข้ามาโจมตีมุสลิมจากด้านหลัง  เพราะเห็นแก่ทรัพย์เชลยที่ตกอยู่ในสนามรบ  ประการที่สอง คือ อับดุลลอฮฺ บินอุบัย พาคนของเขาจำนวนสามร้อยคนถอนตัวจากการร่วมทัพกับนบีมุฮัมมัดขณะกำลังเผชิญหน้ากับข้าศึก

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567

วิกฤตเป็นโอกาสให้รู้ใจคน


บรรจง บินกาซัน 

แม้นบีมุฮัมมัดและมุสลิมอพยพจากมักก๊ะฮฺไปยังเมืองยัษริบเพื่อหลีกเลี่ยงการกดขี่ข่มเหงแล้วก็ตาม  แต่ความอาฆาตแค้นของชาวมักก๊ะฮฺยังไม่จางหาย  หลังจากนั้นประมาณสองปี  หัวหน้าชาวมักก๊ะฮฺได้รวมไพร่พลประมาณหนึ่งพันคนมุ่งหน้ามายังเมืองยัษริบ  เมื่อนบีมุฮัมมัดรู้ข่าว  ท่านจึงระดมกำลังคนได้ประมาณสามร้อยคนและอาวุธเท่าที่จะหาได้ออกไปตั้งรับผู้บุกรุกนอกเมืองตรงบริเวณที่เรียกว่า “บะดัรฺ”

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567

เริ่มต้นของกฎการทำศึกในอิสลาม


บรรจง บินกาซัน  

ตลอดระยะเวลาสิบสามปีที่นบีมุฮัมมัดใช้เวลาเผยแผ่อิสลามอยู่ในเมืองมักก๊ะฮฺ  แม้จะถูกข่มขู่คุกคามและต่อต้านถึงขั้นเอาชีวิต  แต่นบีมุฮัมมัดได้สั่งสาวกของท่านมิให้ยกแม้แต่กำปั้นขึ้นโต้ตอบ แต่ท่านกำชับสาวกของท่านให้ใช้ความอดทนและวิงวอนขอความช่วยเหลือต่อพระเจ้า  อีกมาตรการหนึ่งที่ท่านใช้เมื่อพระเจ้าอนุญาตก็คือการให้สาวกของท่านกลุ่มหนึ่งอพยพไปหลบภัยอยู่ที่อบิสสิเนีย

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สิ่งท้าทายใหม่ๆในแผ่นดินใหม่


บรรจง บินกาซัน

เมื่อนบีมุฮัมมัดผู้ไม่รู้หนังสือเริ่มปฏิบัติภารกิจเผยแผ่อิสลามในมักก๊ะฮฺ  พระเจ้าได้กำชับท่านมิให้พูดจาดูหมิ่นสิ่งที่ชาวเมืองมักก๊ะฮฺเคารพกราบไหว้  ส่วนพวกลูกหลานอิสราเอลนั้น พระเจ้ากำชับท่านให้ใช้การตักเตือนที่ดีและมีเหตุผล

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

จากมักก๊ะฮฺสู่มะดีนะฮฺ จากวิกฤตสู่โอกาส


บรรจง บินกาซัน 

สิบสามปีเต็มๆที่นบีมุฮัมมัดเผยแผ่สั่งสอนเรื่องความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวท่ามกลางการต่อต้านของชาวเมืองมักก๊ะฮฺส่วนใหญ่ที่เสพติดการกราบไหว้เจว็ดบูชาและผลประโยชน์ทางวัตถุ  ตลอดระยะเวลาดังกล่าว  นบีมุฮัมมัดไม่เคยสั่งมุสลิมที่อ่อนแอและมีจำนวนน้อยใช้กำลังโต้ตอบ  แต่ท่านกำชับสาวกทุกคนให้ใช้ความอดทนอดกลั้นและการวิงวอนขอความช่วยเหลือต่อพระเจ้าเป็นอาวุธ 

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

นบีมุฮัมมัดเริ่มย้ายแหล่งเผยแผ่อิสลาม


บรรจง บินกาซัน

การประกาศคว่ำบาตรนบีมุฮัมมัดโดยหัวหน้าชาวเมืองมักก๊ะฮฺที่ต่อต้านอิสลามทำให้ผู้คนในตระกูลของท่านหลายคนต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วย  แต่เป็นเรื่องน่าประหลาดที่ญาติพี่น้องของท่านหลายคนหรือแม้แต่ลุงของนบีมุฮัมมัดซึ่งไม่ได้เป็นมุสลิมก็ยอมร่วมชะตากรรมเดียวกันกับท่านด้วย     

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เยซัสบอกล่วงหน้าถึงการมาของนบีมุฮัมมัด


บรรจง บินกาซัน

นบีมุฮัมมัดเคยกล่าวว่า “ฉันคือคำวิงวอนของอิบรอฮีม และผู้ที่จะมาแจ้งข่าวดีเกี่ยวกับฉันคืออีซา(หรือเยซัส)”

คัมภีร์กุรอานกล่าวไว้ว่านบีมุฮัมมัดเป็นศาสดาผู้ไม่รู้หนังสือและชื่อของท่านได้ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์โตราห์ที่พระเจ้าประทานแก่โมเสสและในคัมภีร์อินญีล(Gospel)ที่พระเจ้าประทานแก่เยซัสหรือพระเยซู  ปุโรหิตชาวยิวและบาทหลวงชาวคริสเตียนรู้จักคัมภีร์ทั้งสองนี้เป็นอย่างดี 

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

กุรอานคือหลักฐานยืนยันว่ามุฮัมมัดเป็นนบี


บรรจง บินกาซัน

หลายคนศึกษาอิสลามและชีวประวัติของนบีมุฮัมมัดแล้วเกิดความสงสัยว่า  “ทำไมพระเจ้าเลือกนบีมุฮัมมัดผู้ไม่รู้หนังสือเป็นผู้รับคัมภีร์กุรอานที่เป็นวรรณกรรมอันสูงส่ง มหัศจรรย์และเป็นอมตะ?”

คำตอบคือ คัมภีร์ที่พระเจ้าประทานมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตแก่มนุษย์ผ่านทางนบีต่างๆก่อนหน้านี้ เช่น โมเสส  ดาวิดและเยซัสไครสต์ไม่มีฉบับใดหลงเหลืออยู่ในสภาพดั้งเดิมแล้ว  หากมนุษย์ไม่มีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องหรือใช้ชีวิตอย่างผิดๆ  มนุษย์ก็จะได้รับความเสียหาย

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567

นบีมุฮัมมัด “ฉันคือคำวิงวอนของอิบรอฮีม”


บรรจง บินกาซัน 

นบีมุฮัมมัดเคยกล่าวว่า “ฉันคือคำวิงวอนของอิบรอฮีม และผู้ที่จะมาแจ้งข่าวดีเกี่ยวกับฉันคืออีซา” 

ไม่มีชาวยิว ชาวคริสเตียนและชาวมุสลิมคนใดไม่รู้จักอับราฮัมหรืออิบรอฮีม  เพราะอับราฮัมเป็นบิดาแห่งความศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวและเป็นต้นตระกูลของบุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของผู้ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว

แต่คำถามคือนบีอิบรอฮีมวิงวอนอะไรไว้ก่อนหน้านบีมุฮัมมัดกำเนิดกว่าสามพันปี? 

วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ที่ไหนมีสัจธรรม ที่นั่นมีความอธรรมเสมอ


บรรจง บินกาซัน 

เมื่อการต่อต้านเพื่อหยุดยั้งภารกิจเผยแผ่อิสลามของนบีมุฮัมมัดด้วยวิธีการต่างๆไม่เป็นผลและยิ่งวันยิ่งมีชาวเมืองมักก๊ะฮฺหันมาเป็นมุสลิมมากยิ่งขึ้น  หัวหน้าชาวเมืองมักก๊ะฮฺจึงคิดกำจัดนบีมุฮัมมัด  แต่ยังไม่อาจทำได้เพราะนบีมุฮัมมัดได้รับความคุ้มครองจากอบูฏอลิบลุงของท่านซึ่งเป็นหัวหน้าตระกูลใหญ่